วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551




pluk

">

Jazz

">

ska

">

Reggae

">

Reggae

Reggaeแนวดนตรีแอฟริกัน-แคริบเบียน ซึ่งพัฒนาขึ้นบนหมู่เกาะจาไมก้า และมีความชิดใกล้เชื่อมต่อกับลัทธิรัสตาฟาเรียน (Rastafarianism) รากดั้งเดิมของเร็กเก้สามารถค้นหาได้จากดนตรีเทรดิชั่นหรือประเพณีนิยมของแอฟริกัน-แคริบเบียนที่มีพอๆ กับดนตรีริธึ่มแอนด์บลูส์ของอเมริกันเร็กเก้ เป็นดนตรีที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่เดียวในโลกของประเทศจาไมก้า ซึ่งอิทธิพลทางดนตรีมาจากนิวออร์ลีน ริธึ่มแอนด์บลูส์ มาจากการฟังวิทยุทรานซิสเตอร์ที่รับคลื่นสั้นจากสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ถ้าย้อนกลับกันไปจริงๆ แล้ว รากเหง้าของดนตรีคนแอฟริกัน-แคริบเบียน จะมีเพลงโฟล์คของตัวเองที่เรียกว่า เมนโต (Mento) มีท่วงทำนองเพลงไปในทางแนวดนตรีคาลิปโซ เนื้อหาของบทเพลงจะพูดถึงการเรียกร้องสิทธิของตัวเองและปัญหาความยากจนต่อประเทศเจ้าอาณานิคมในหมู่เกาะอินดีสตะวันตกในทะเลแคริบเบียน สำหรับจาไมก้าเอง ประเทศตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ พลเมืองตกเป็นทาสของคนผิวขาว ก็มีการพัฒนาดนตรีเมนโตนำมาผสมกับอาร์แอนด์บีทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา พัฒนาเปลี่ยนแปลงจังหวะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นดนตรีสกา (Ska) โดยเปลี่ยนแปลงจังหวะให้เพิ่มขึ้น กีตาร์เล่นจังหวะยก และมีการเล่นลัดจังหวะ ถือว่าเป็นการแปลความหมายของดนตรีอาร์แอนด์บีอีกรูปแบบหนึ่ง และเป็นที่นิยมกันอย่างมากในช่วงต้นยุคทศวรรษ ’60
แต่ด้วยความที่เป็นเมืองร้อน เมื่อดนตรีที่เล่นมีความร้อนแรงจัดจ้าก็ยิ่งเพิ่มอุณหภูมิเข้าไปอีกเมื่อเต้นรำกับดนตรีสกา จึงมีการพัฒนาขึ้นอีกขั้น บีทของดนตรีจึงถูกดึงให้ช้าลงใช้เปียโนและเบสที่มีอิทธิพลดนตรีร็อคเข้ามาจึงเรียกว่า ร็อคสเตดี้ (Rocksteady) จนมาถึงปี 1968 ก็ได้มีการพัฒนาจนถึงขีดสุด ดนตรีเร็กเก้จึงถือกำเนิดขึ้น ภายใต้แนวความคิดของลัทธิรัสตาฟาเรียน ทรงผมฟั่นเชือกหรือเดรด ล็อค และอุดมคติทางการเมืองและสังคม ในการพาชาวแอฟริกัน-แคริบเบียน กลับสู่แผ่นดินในทวีปแอฟริกา




Ska
สกา (Ska) และร็อกสเตดี้ (Rocksteady) คือพื้นฐานทางแนวดนตรีผู้มาก่อนเร็กเก้ในยุคทศวรรษที่ 60 ก่อนที่ Bob Marley จะทำให้ดนตรีเร็กเก้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ก็เคยบันทึกเสียงในแนวดนตรีร็อกสเตดี้ในช่วงแรกในอาชีพของเขา สไตล์ดนตรีเร็กเก้ที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากเรียกกันว่า รูทส์ เร็กเก้ (roots reggae) หรือ รูทส์ ร็อก เร็กเก้ (roots rock reggae) และใช้กับศิลปินอีกมากมายที่ทำงานในแบบเดียวกันอย่าง Black Uhuru, Burning Spear, Culture, Israel Vibrations, The Skatalites and Toots และ The Maytals ซึ่งสามารถส่งอิทธิพลมาถึงวง UB40 ในสหราชอาณาจักรในจาไมก้าเอง ดนตรีสไตล์ใหม่ได้ทวีความนิยมมากว่า โดยมีการพัฒนาไปสู่สไตล์เลิฟเวอร์ส ร็อก (Lovers Rock), แด๊นซ์ฮอลล์ (Dancehall) และแร็กกามัฟฟิน (Raggamuffin)

** ขอบคุณ คุณน้ำแข็งสีดำและ www.smovidya.com สำหรับข้อมูลดีค่ะ

โปรเกรสซีฟร็อก


Sep 7, '07 5:32 AMfor everyone
“Progressive Rock/ Art Rock”

“โปรเกรสซีฟร็อก (Progressive rock) และอาร์ตร็อก (Art Rock) คือสองแนวดนตรีที่เป็นเสมือนคู่ฝาแฝดในกันและกัน อันถือกำเนิดจากนักดนตรีชาวอังกฤษที่พยายามยกระดับดนตรีร็อกให้สูงล้ำขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นความสลับซับซ้อนของเนื้อดนตรีที่ทวีขึ้นอีกหลายเท่าตัว ความโดดเด่นของเนื้อหาที่ลึกซึ้งราวกับยกมาจากบทกวีในวรรณกรรมโบราณระดับคลาสสิค และการเล่นดนตรีที่หลุดออกจากกรอบของกีตาร์เบสกลองทั่วๆ ไปในช่วงปลายยุค 60
“ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากเพียงไม่กี่ประการของสองแนวดนตรีนี้คือ โปรเกรสซีฟ ร็อก นั้นจะมีรูปแบบดนตรีที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยมมากกว่า และแนบชิดอยู่กับอิทธิพลของดนตรีคลาสสิค ส่วนเนื้อร้องก็จะให้ความสำคัญกับความสละสลวยทางการประพันธ์มากกว่า หากไม่เป็นการร่ายบทกวีก็จะเป็นเรื่องราวในแบบนิยายวิทยาศาสตร์ ในขณะที่อาร์ตร็อกนั้นจะมีลักษณะของการทดลองและได้รับอิทธิพลของดนตรีอวองการ์ตในปริมาณที่สูงกว่า และทดแทนความทะเยอทะยานในโลกของดนตรีคลาสสิคของเนื้อเสียงที่แปลกใหม่แทน
“ทั้งสองแนวดนตรีแตกต่างจากแวดวงป๊อปที่ขับเน้นซิงเกิ้ลความยาวสามนาทีเป็นหลัก ด้วยการนำเสนอบทเพลงในรูปแบบของอัลบั้มเป็นสำคัญ รวมทั้งการประพันธ์เพลงที่ยาวขึ้น มีโครงสร้างซับซ้อนขึ้น และการบรรเลงดนตรีที่ขยับขยายแนวทางและลีลาออกไปอีก และจากประวัติศาสตร์กว่าสามทศวรรษของศิลปินในแนวทางโปรเกรสซีฟร็อก อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเสมือนเอกลักษณ์หนึ่งก็คือ การทำอัลบั้มที่มีเนื้อหารวมศูนย์อยู่ที่แนวคิดรวบยอดเพียงเรื่องเดียวหรือที่เรียกกันว่า คอนเซ็ปต์อัลบั้ม (Concept Album) นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของชีวิตศิลปินที่ถือกำเนิดมาหลังจากยุคสงครามโลกครั้งที่สองของ Pink Floyd (อัลบั้ม The Wall) หรืออัลบั้ม Tales From Topographic Ocean ของ Yes ที่นำแนวคิดมาจากบทความเกี่ยวกับวิถีของโยคี (Autobiography of a Yogi) ในขณะเดียวกันแนวดนตรีสองแนวนี้ก็เป็นแนวทางแรกที่ริเริ่มนำซินซิไซเซอร์และรายละเอียดดนตรีในแบบอิเล็กโทรนิคเข้ามาสู่ดนตรีร็อก
“เมล็ดพันธุ์แรกๆ ที่ส่งผลออกดอกออกมากลายมาเป็นดนตรี โปรเกรสซีฟ และอาร์ตร็อกในเวลาต่อมานั้นจะจุดเริ่มอยู่ในบทกวีของ Bob Dylan และอัลบั้มในแบบคอนเซ็ปต์อย่าง Freak Out! ของ the Mothers of Invention และ Sgt. Pepper’s Lonely Hearts Club Band ของวงสี่เต่าทอง the Beatles ซึ่งพิสูจน์ให้โลกเห็นว่ดนตรีร็อกสามารถเป็นได้มากกว่าดนตรีของวัยรุ่น และสามารถนำเสนออย่างจริงจังในรูปแบบของงานศิลปในอีกรูปแบบหนึ่งได้
“ดนตรีโปรเกรสซีฟร็อกได้เติบโตขึ้นอย่างจริงจังภายหลังจากจุดสูงสุดของซีนไซคีเดลิคในปี 1967 ด้วยผลงานคลาสสิคอล/ซิมโฟนิก ร็อก (Classical/Symphonic rock) ของ the Nice, Procol Harum และ the Moody Blues ก่อนที่จะสร้างเอกลักษณ์เฉพาะแนวทางขึ้นมาด้วยฝีมือของวง King Crimson กับอัลบั้มชุดแรก In the Court of the Crimson King ในอีกสองปีหลังจากนั้น และเริ่มขยับขยายเป็นสังคมของตัวเองอย่างเด่นชัดที่เมืองแคนเตอร์เบอรี่ที่มี the Soft Machine เป็นหัวหอก จากนั้นก็กลายมาเป็นกระแสหลักของความนิยมในช่วงครึ่งแรกของยุค 70 Emerson, Lake & Palmer, Yes, Jethro Tull, Genesis และ Pink Floyd คือวงดนตรีระดับแนวหน้าในช่วงเวลานั้น ในขณะเดียวกันแวดวงของศิลปินที่มีรูปแบบการนำเสนอที่สลับซับซ้อนกว่านั้นก็ถือกำเนิดขึ้นในประเทศเยอรมนี
“อย่างไรก็ตาม กระแสความนิยมของดนตรีโปรเกรสซีฟ และอาร์ตร็อก ก็ถึงจุดอิ่มตัวและเสื่อมสลายลงในช่วงครึ่งหลังของยุค 70 พร้อมทั้งถูกแทนที่ด้วยดนตรีที่เรียบง่าย และก้าวร้าวในเนื้อหาอย่างดนตรีพังค์ ที่มีรูปแบบตรงกันข้ามกับความซับซ้อนเข้าใจยากของสองคู่แฝดนี้อย่างโดยสิ้นเชิง ศิลปินในแนวทางนี้ส่วนใหญ่ก็จะล้มหายตายจากไป เหลือเพียงผู้นำกระแสเพียงไม่กี่ราย ซึ่งเกือบทั้งหมดต้องปรับรูปแบบดนตรีเพื่อให้เข้ากับความต้องการของคนฟัง ซึ่งกลายมาเป็นต้นธารแรกของดนตรีโปรเกรสซีฟร็อกในแบบร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น จากผลงานของวงอย่าง Marillion ในยุค 80
“บทเพลงในแบบโปรเกรสซีฟร็อก หรือาร์ตร็อกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลของนักดนตรีไทยในช่วงนี้เอง อาทิบางส่วนของเพลงของวง Rockestra ในยุคแรกทั้ง เทคโนโลยี หรือ วิทยาศาสตร์ ทว่าส่วนใหญ่จะจำกัดอยู่ในวงแคบๆ ไม่ว่าจะเป็นอัลบั้ม เรามาร้องเพลงกัน ของ เรวัต พุทธนันทน์ กับวงคีตกวี อัลบั้มของวงอนัตตา และงานเพลงของวง Butterfly Camera Eyes หรือจินตา แม้กระทั่งธเนศ วรากุลนุเคราะห์ก็เคยสร้างสรรค์งานในแนวทางนี้กับอัลบั้ม คนเขียนเพลงบรรเลงชีวิต มาแล้ว แต่ก็เป็นเพียงการจุดประกายเล็กๆ เช่นเดียวกับในต่างประเทศที่ดนตรีโปรเกรสซีฟได้ตายไปจากธุรกิจเพลงไปแล้ว ก่อนที่จะพัฒนาจนกลายเป็นดนตรีโปรเกรสซีฟเมทัลในช่วงยุค 90 ที่สร้างความสำเร็จได้พอสมควร จนเกิดเป็นขบวนการนีโอโปรเกรสซีฟร็อกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ในงานของ Dream Theater, Ayreon, Spock’s Beard ฯลฯ อันแสดงให้เห็นว่าถึงแม้ว่ารูปแบบดั้งเดิมของโปรเกรสซีฟ หรืออาร์ตร็อกจะเสื่อมความนิยมลง แต่จิตวิญญาณของทั้งสองแนวก็ยังคงแอบแฝงอยู่ในนักดนตรีที่ต้องการนำเสนอบางสิ่งบางอย่างนอกเหนือจากดนตรีที่ตรงไปตรงมาในแบบมาตรฐานตลอดมาเช่นเดียวกัน”
ขอขอบคุณ DDT : Musiclopedia สำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

รากฐานของดนตรี

รากฐานของดนตรี JAZZ
Sep 20, '07 6:31 AMfor everyone
แจ๊ส (Jazz) เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิคชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ดนตรีแจ๊สมีต้นกำเนิดราวทศวรรษ 1920 โดยวงดนดรีวงแรกที่นำสำเนียงแจ๊สมาสู่ผู้ฟังหมู่มากคือ ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ส แบนด์ (The Original Dixieland Jazz Band: ODJB) ด้วยจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ ทำให้โอดีเจบีเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก พร้อมกับให้กำเนิดคำว่า "แจ๊ส" ตามชื่อวงดนตรี โอดีเจบีสามารถขายแผ่นได้ถึงล้านแผ่น รากลึกของแจ๊สนั้นมีมาจากเพลงบลูส์ (Blues)คนผิวดำที่เล่นเพลงบลูส์เหล่านี้เรียนรู้ดนตรีจากการฟังเป็นพื้นฐาน จึงเล่นดนตรีแบบถูกบ้างผิดบ้าง เพราะจำมาไม่ครบถ้วน มีการขยายความด้วยความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งกลายเป็นที่มาของคีตปฏิภาณ (Improvisation) ในภายหลังดนตรีแร็กไทม์ (Ragtime) ก็เชื่อว่ามีต้นกำเนิดคล้ายๆ กันคือ เกิดจากดนตรียุโรปผสมกับจังหวะขัดของแอฟริกัน บลูส์และแร็กไทม์นี่เองที่เป็นรากของดนตรีแจ๊สในเวลาต่อมา เพลงบลูส์เริ่มได้รับความนิยมในช่วงเวลาเดียวกันกับแร็กไทม์ ปลายๆ ทศวรรษ 1910 เพลงบลูส์และแร็กไทม์ถูกผสมผสานจนกลมกลืนโดย บัดดี โบลเดน (Charles Joseph 'Buddy' Bolden) เป็นผู้ริเริ่ม หากแต่เวลานั้นยังไม่มีการประดิษฐ์คำว่าแจ๊สขึ้นมา และเรียกดนตรีเหล่านี้รวมๆ กันว่า "ฮ็อต มิวสิก" (Hot Music) จนกระทั่งโอดีเจบีโด่งดัง คำว่า แจ๊ส จึงเป็นคำที่ใช้เรียกขานกันทั่ว แจ๊สในยุคแรกนี้เรียกกันว่าเป็น แจ๊สดั้งเดิม หรือ นิวออร์ลีนส์แจ๊ส
ทศวรรษที่ 1920 และ 1930 สหรัฐเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทางการสั่งปิดสถานเริงรมณ์ในนิวออร์ลีนส์ ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่เดินทางมาหากินในชิคาโก นิวยอร์ก และ ลอสแองเจลลิส ทั้งสามเมืองจึงกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะนักดนตรีแจ๊สในช่วงนั้ ชิคาโกดูจะเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางดนตรีแจ็สเหนือกว่าอีกสองเมือง เพราะมีนักดนตรีมาทำงานมาก ชิคาโกเป็นเมืองที่ทำให้ หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong) เป็นที่รู้จัก และกลายเป็นนักดนตรี นักร้องแจ๊สชื่อก้องโลกในเวลาต่อมา ในด้านการพัฒนา ชิคาโกมีดนตรีแจ๊สที่สืบสายมาจากนิวออร์ลีนส์แต่มีลักษณะเฉพาะตัว มีการทดลองจัดวงในแบบของตัวเอง เริ่มเอาเครื่องดนตรีใหม่ๆ เช่น แซ็กโซโฟนมาใช้รวมกับ คอร์เน็ต ทรัมเป็ต มีการทดลองแนวดนตรีใหม่ๆ เช่น การเล่นเปียโนแบบสไตรด์ (Stride piano) ของเจมส์ จอห์นสัน (James P. Johnson) ซึ่งมีพื้นฐานจากแร็กไทม์ การทดลองลากโน้ตให้ยาวจนผู้ฟังคาดเดาได้ยากของอาร์มสตรอง และการปรับแพทเทิร์นของจังหวะกันใหม่เป็น Chicago Shuffle ส่วนนิวยอร์กรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของแจ๊สในยุคปลายทศวรรษ 1920 แทนชิคาโก ดนตรีแจ๊สในนิวยอร์กพัฒนาเพื่อเป็นดนตรีเต้นรำให้ความสนุกสนานบันเทิง และเป็นที่มาของ สวิง (Swing) และ บิ๊กแบนด์ (Big Band) สวิงเป็นดนตรีที่ก่อให้เกิดการจัดวงแบบใหม่ที่เรียกว่า "บิ๊กแบนด์" ซึ่งมีการแบ่งโครงสร้างเครื่องดนตรีเป็นสามส่วนคือ เครื่องทองเหลือง เครื่องลมไม้ และเครื่องให้จังหวะ ศิลปินที่แจ้งเกิดในยุคนี้เช่น เอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ (Ella Fitzgerald) บิลลี ฮอลิเดย์ (Billy Holiday) และหลุยส์ อาร์มสตรอง จุดเด่นของนักร้องแจ๊สคือการ "สแกต" (Scat) หรือเปล่งเสียง ฮัมเพลง แทนเครื่องดนตรี ซึ่งนับเป็นการแสดงคีตปฏิภาณของนักร้อง
ทศวรรษที่ 1940 เพลงสวิงมาถึงจุดอิ่มตัวเมื่อนักดนตรีเริ่มเบื่อหน่ายการจัดวงและการเรียบเรียงที่ค่อนข้างตายตัว จึงเริ่มเกิดการหาแนวทางใหม่ๆ เล่นตามความพอใจหลังการซ้อมหรือเล่นดนตรี หรือเรียกว่า "แจม" (Jam session) ชาร์ลี "เบิร์ด" พาร์คเกอร์ (Charlie "Bird" Parker) นักแซ็กโซโฟน และ ดิซซี่ กิลเลสปี (Dizzy Gillespie) นักทรัมเป็ต เสนอแจ๊สในแนวทางใหม่ขึ้นมา เมื่อทั้งสองร่วมตั้งวงห้าชิ้นและออกอัลบั้มตามแนวทางดังกล่าว คำว่า "บีบ็อพ" (Bebop) "รีบ็อพ" (Rebop) หรือ "บ็อพ" (Bop) ก็กลายเป็นคำติดปาก คำว่าบีบ็อพเชื่อกันว่ามาจากสแกตของโน้ตสองตัว บ็อพมีสุ้มเสียง จังหวะ การสอดประสานที่ต่างไปจากสวิงค่อนข้างมาก เช่นจังหวะไม่ได้บังคับเป็น 4/4 เหมือนสวิง ใช้คอร์ดแทน (Alternate chords) ในขณะที่โซโลและการแสดงคีตปฏิภาณยังคงวางบนคอร์ดเดิม
ทศวรรษที่ 1950 ไมล์ส เดวิส และ จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ก็มาลงตัวกับท่วงทำนองที่ใช้ฮาร์โมนีของโหมด (Mode) มากกว่า คอร์ด กลายมาเป็น โมดัลแจ๊ส(Modal Jazz) ในเวลาต่อมา โดยมีอัลบั้ม Kind of Blues ของเดวิส เป็นตัวแทนของการเริ่มต้น การใช้โหมดทำให้นักดนตรีสามารถโซโล หรือแสดงคีตปฏิภาณได้อิสระยิ่งขึ้น เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องคอร์ดเหมือนที่ผ่านมา จึงเกิดสเกลแปลกใหม่มากมาย หลังอัลบั้ม Kind of Blue ในปี 1959 ไม่นานนัก ออร์เน็ต โคลแมน (Ornette Coleman) นักแซ็กโซโฟนก็เสนออีกแนวทางหนึ่งที่ให้อิสระยิ่งกว่าโมดัลแจ๊ส คือดนตรีสายฟรีแจ๊ส (Free Jazz) ซึ่งเน้นปฏิสัมพันธ์เป็นแกน อาศัยความรู้สึกและคีตปฏิภาณอย่างหนักหน่วง จนแทบไม่เหลืออะไรเป็นศูนย์กลายของเพลง หลายๆ เพลงไม่มีแม้แต่จังหวะทำนอง ไม่มีห้องดนตรี ดนตรีในแนวฟรีแจ๊สและที่ใกล้เคียงกันในเวลานั้นทั้งหมดเรียกรวมว่า "อวองต์ การ์ด" (Avante Garde) นอกจาก โคลแมนแล้ว ผู้ที่มีชื่อเสียงในฟรีแจ๊ส เช่น อัลเบิร์ต ไอย์เลอร์ (Albert Ayler) ซึ่งเป็นผู้ชักนำให้ โคลเทรนหันมาสนใจฟรีแจ๊สในระยะหลังๆ ทศวรรษที่ 1970 หลังกำเนิดฟรีแจ๊ส ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ได้เกิดดนตรีแจ๊สอีกแนวที่เรียกว่า ฟิวชัน (Fusion) ซึ่งบ่งชี้ถึงการนำดนตรีสองแนวหรือมากกว่ามาหลอมรวมกัน แต่โดยบริบทในช่วงนั้นจะหมายถึงการรวมดนตรีแจ๊สเข้ากับร็อกเป็นหลัก เพราะช่วงเวลานั้นร็อกแอนด์โรลมีอิทธิพลในกลุ่มวัยรุ่นอย่างมาก ไมล์ส เดวิส นักปฏิวัติดนตรีแจ๊ส ก็ได้หยิบเอาโครงสร้างของร็อกมารวมกับแจ๊ส ทดลองใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า เครื่องดนตรีประเภทสังเคราะห์เสียง โดยเริ่มจากอัลบั้ม In A Silent Way ก่อนจะมาเป็นอัลบั้ม Bitches Brew ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวฟิวชันในเวลาต่อมา แจ๊สยุคใหม่ ยุคหลังทศวรรษ 1970 ฟิวชันไม่ได้ครอบคลุมเพียงแจ๊ส-ร็อก หากรวมถึงดนตรียุคหลัง เช่น แจ๊ส-รึทึมแอนด์บลูส์ แจ๊ส-ฟังกี้ แจ๊ส-ป๊อป เป็นต้น ฟิวชันยุคหลังนี้มีอิทธิพลกับแนวดนตรีนิวเอจ (New Age) และ เวิลด์ มิวสิก (World Music) ในเวลาต่อมาโดยมีสังกัด ECM และ วินด์แฮม ฮิล (Windham Hill) นักดนตรีฟิวชันที่โด่งดังมีหลายคน เช่น คีธ จาร์เร็ต (Keith Jarrett) แพท เมธินี (Pat Metheny) บิลล์ ฟริเซล (Bill Frisell) โตชิโกะ อะกิโยชิ (Toshiko Akiyoshi) ซาดาโอะ วาตานะเบ (Sadao Watanabe) เป็นต้น มีความพยายามหาสุ้มเสียงใหม่ๆ จากฟิวชันเหมือนกัน เช่น แอซิดแจ๊ส (Acid Jazz) หรือกรูฟแจ๊ส (Groove Jazz)ซึ่งเป็นผลการผสมระหว่างแจ๊ส โซล ฟังกี้ และฮิปฮอป เช่น จามิโรไคว์ (Jamiroquai) อีกแนวที่ใกล้กับแอซิดแจ๊สคือ นูแจ๊ส (Nu Jazz) หรือ อิเล็กโทรแจ๊ส (Electro-Jazz) ซึ่งเกิดในปลายทศวรรษ 1990 โดยนำเนื้อหนังของแจ๊สมาผสมผสานด้วยดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสังเคราะห์เสียง เช่น วงอิเล็กโทรนิกา (Electronica)
**หมายเหตุ หลายวงดนตรีที่มีชื่อเสียง ก็มักจะนำดนตรี Jazz เข้าไปประยุกต์ใช้ เช่น Red Hot ก็นำฟั้งก์ เข้าไปผสมกับร็อค วงไทยก็มี Pause แต่ Pause จะมีบางเพลง Cressendo จะเป็น โซลฟั้งก์
ข้อมูลดีๆมีสาระจาก http://pramool.com:443/webboard
Tags:
0 comments

รากฐานของดนตรี

รากฐานของดนตรี JAZZ
Sep 20, '07 6:31 AMfor everyone
แจ๊ส (Jazz) เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิคชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ดนตรีแจ๊สมีต้นกำเนิดราวทศวรรษ 1920 โดยวงดนดรีวงแรกที่นำสำเนียงแจ๊สมาสู่ผู้ฟังหมู่มากคือ ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ส แบนด์ (The Original Dixieland Jazz Band: ODJB) ด้วยจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ ทำให้โอดีเจบีเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก พร้อมกับให้กำเนิดคำว่า "แจ๊ส" ตามชื่อวงดนตรี โอดีเจบีสามารถขายแผ่นได้ถึงล้านแผ่น รากลึกของแจ๊สนั้นมีมาจากเพลงบลูส์ (Blues)คนผิวดำที่เล่นเพลงบลูส์เหล่านี้เรียนรู้ดนตรีจากการฟังเป็นพื้นฐาน จึงเล่นดนตรีแบบถูกบ้างผิดบ้าง เพราะจำมาไม่ครบถ้วน มีการขยายความด้วยความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งกลายเป็นที่มาของคีตปฏิภาณ (Improvisation) ในภายหลังดนตรีแร็กไทม์ (Ragtime) ก็เชื่อว่ามีต้นกำเนิดคล้ายๆ กันคือ เกิดจากดนตรียุโรปผสมกับจังหวะขัดของแอฟริกัน บลูส์และแร็กไทม์นี่เองที่เป็นรากของดนตรีแจ๊สในเวลาต่อมา เพลงบลูส์เริ่มได้รับความนิยมในช่วงเวลาเดียวกันกับแร็กไทม์ ปลายๆ ทศวรรษ 1910 เพลงบลูส์และแร็กไทม์ถูกผสมผสานจนกลมกลืนโดย บัดดี โบลเดน (Charles Joseph 'Buddy' Bolden) เป็นผู้ริเริ่ม หากแต่เวลานั้นยังไม่มีการประดิษฐ์คำว่าแจ๊สขึ้นมา และเรียกดนตรีเหล่านี้รวมๆ กันว่า "ฮ็อต มิวสิก" (Hot Music) จนกระทั่งโอดีเจบีโด่งดัง คำว่า แจ๊ส จึงเป็นคำที่ใช้เรียกขานกันทั่ว แจ๊สในยุคแรกนี้เรียกกันว่าเป็น แจ๊สดั้งเดิม หรือ นิวออร์ลีนส์แจ๊ส
ทศวรรษที่ 1920 และ 1930 สหรัฐเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทางการสั่งปิดสถานเริงรมณ์ในนิวออร์ลีนส์ ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่เดินทางมาหากินในชิคาโก นิวยอร์ก และ ลอสแองเจลลิส ทั้งสามเมืองจึงกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะนักดนตรีแจ๊สในช่วงนั้ ชิคาโกดูจะเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางดนตรีแจ็สเหนือกว่าอีกสองเมือง เพราะมีนักดนตรีมาทำงานมาก ชิคาโกเป็นเมืองที่ทำให้ หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong) เป็นที่รู้จัก และกลายเป็นนักดนตรี นักร้องแจ๊สชื่อก้องโลกในเวลาต่อมา ในด้านการพัฒนา ชิคาโกมีดนตรีแจ๊สที่สืบสายมาจากนิวออร์ลีนส์แต่มีลักษณะเฉพาะตัว มีการทดลองจัดวงในแบบของตัวเอง เริ่มเอาเครื่องดนตรีใหม่ๆ เช่น แซ็กโซโฟนมาใช้รวมกับ คอร์เน็ต ทรัมเป็ต มีการทดลองแนวดนตรีใหม่ๆ เช่น การเล่นเปียโนแบบสไตรด์ (Stride piano) ของเจมส์ จอห์นสัน (James P. Johnson) ซึ่งมีพื้นฐานจากแร็กไทม์ การทดลองลากโน้ตให้ยาวจนผู้ฟังคาดเดาได้ยากของอาร์มสตรอง และการปรับแพทเทิร์นของจังหวะกันใหม่เป็น Chicago Shuffle ส่วนนิวยอร์กรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของแจ๊สในยุคปลายทศวรรษ 1920 แทนชิคาโก ดนตรีแจ๊สในนิวยอร์กพัฒนาเพื่อเป็นดนตรีเต้นรำให้ความสนุกสนานบันเทิง และเป็นที่มาของ สวิง (Swing) และ บิ๊กแบนด์ (Big Band) สวิงเป็นดนตรีที่ก่อให้เกิดการจัดวงแบบใหม่ที่เรียกว่า "บิ๊กแบนด์" ซึ่งมีการแบ่งโครงสร้างเครื่องดนตรีเป็นสามส่วนคือ เครื่องทองเหลือง เครื่องลมไม้ และเครื่องให้จังหวะ ศิลปินที่แจ้งเกิดในยุคนี้เช่น เอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ (Ella Fitzgerald) บิลลี ฮอลิเดย์ (Billy Holiday) และหลุยส์ อาร์มสตรอง จุดเด่นของนักร้องแจ๊สคือการ "สแกต" (Scat) หรือเปล่งเสียง ฮัมเพลง แทนเครื่องดนตรี ซึ่งนับเป็นการแสดงคีตปฏิภาณของนักร้อง
ทศวรรษที่ 1940 เพลงสวิงมาถึงจุดอิ่มตัวเมื่อนักดนตรีเริ่มเบื่อหน่ายการจัดวงและการเรียบเรียงที่ค่อนข้างตายตัว จึงเริ่มเกิดการหาแนวทางใหม่ๆ เล่นตามความพอใจหลังการซ้อมหรือเล่นดนตรี หรือเรียกว่า "แจม" (Jam session) ชาร์ลี "เบิร์ด" พาร์คเกอร์ (Charlie "Bird" Parker) นักแซ็กโซโฟน และ ดิซซี่ กิลเลสปี (Dizzy Gillespie) นักทรัมเป็ต เสนอแจ๊สในแนวทางใหม่ขึ้นมา เมื่อทั้งสองร่วมตั้งวงห้าชิ้นและออกอัลบั้มตามแนวทางดังกล่าว คำว่า "บีบ็อพ" (Bebop) "รีบ็อพ" (Rebop) หรือ "บ็อพ" (Bop) ก็กลายเป็นคำติดปาก คำว่าบีบ็อพเชื่อกันว่ามาจากสแกตของโน้ตสองตัว บ็อพมีสุ้มเสียง จังหวะ การสอดประสานที่ต่างไปจากสวิงค่อนข้างมาก เช่นจังหวะไม่ได้บังคับเป็น 4/4 เหมือนสวิง ใช้คอร์ดแทน (Alternate chords) ในขณะที่โซโลและการแสดงคีตปฏิภาณยังคงวางบนคอร์ดเดิม
ทศวรรษที่ 1950 ไมล์ส เดวิส และ จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ก็มาลงตัวกับท่วงทำนองที่ใช้ฮาร์โมนีของโหมด (Mode) มากกว่า คอร์ด กลายมาเป็น โมดัลแจ๊ส(Modal Jazz) ในเวลาต่อมา โดยมีอัลบั้ม Kind of Blues ของเดวิส เป็นตัวแทนของการเริ่มต้น การใช้โหมดทำให้นักดนตรีสามารถโซโล หรือแสดงคีตปฏิภาณได้อิสระยิ่งขึ้น เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องคอร์ดเหมือนที่ผ่านมา จึงเกิดสเกลแปลกใหม่มากมาย หลังอัลบั้ม Kind of Blue ในปี 1959 ไม่นานนัก ออร์เน็ต โคลแมน (Ornette Coleman) นักแซ็กโซโฟนก็เสนออีกแนวทางหนึ่งที่ให้อิสระยิ่งกว่าโมดัลแจ๊ส คือดนตรีสายฟรีแจ๊ส (Free Jazz) ซึ่งเน้นปฏิสัมพันธ์เป็นแกน อาศัยความรู้สึกและคีตปฏิภาณอย่างหนักหน่วง จนแทบไม่เหลืออะไรเป็นศูนย์กลายของเพลง หลายๆ เพลงไม่มีแม้แต่จังหวะทำนอง ไม่มีห้องดนตรี ดนตรีในแนวฟรีแจ๊สและที่ใกล้เคียงกันในเวลานั้นทั้งหมดเรียกรวมว่า "อวองต์ การ์ด" (Avante Garde) นอกจาก โคลแมนแล้ว ผู้ที่มีชื่อเสียงในฟรีแจ๊ส เช่น อัลเบิร์ต ไอย์เลอร์ (Albert Ayler) ซึ่งเป็นผู้ชักนำให้ โคลเทรนหันมาสนใจฟรีแจ๊สในระยะหลังๆ ทศวรรษที่ 1970 หลังกำเนิดฟรีแจ๊ส ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ได้เกิดดนตรีแจ๊สอีกแนวที่เรียกว่า ฟิวชัน (Fusion) ซึ่งบ่งชี้ถึงการนำดนตรีสองแนวหรือมากกว่ามาหลอมรวมกัน แต่โดยบริบทในช่วงนั้นจะหมายถึงการรวมดนตรีแจ๊สเข้ากับร็อกเป็นหลัก เพราะช่วงเวลานั้นร็อกแอนด์โรลมีอิทธิพลในกลุ่มวัยรุ่นอย่างมาก ไมล์ส เดวิส นักปฏิวัติดนตรีแจ๊ส ก็ได้หยิบเอาโครงสร้างของร็อกมารวมกับแจ๊ส ทดลองใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า เครื่องดนตรีประเภทสังเคราะห์เสียง โดยเริ่มจากอัลบั้ม In A Silent Way ก่อนจะมาเป็นอัลบั้ม Bitches Brew ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวฟิวชันในเวลาต่อมา แจ๊สยุคใหม่ ยุคหลังทศวรรษ 1970 ฟิวชันไม่ได้ครอบคลุมเพียงแจ๊ส-ร็อก หากรวมถึงดนตรียุคหลัง เช่น แจ๊ส-รึทึมแอนด์บลูส์ แจ๊ส-ฟังกี้ แจ๊ส-ป๊อป เป็นต้น ฟิวชันยุคหลังนี้มีอิทธิพลกับแนวดนตรีนิวเอจ (New Age) และ เวิลด์ มิวสิก (World Music) ในเวลาต่อมาโดยมีสังกัด ECM และ วินด์แฮม ฮิล (Windham Hill) นักดนตรีฟิวชันที่โด่งดังมีหลายคน เช่น คีธ จาร์เร็ต (Keith Jarrett) แพท เมธินี (Pat Metheny) บิลล์ ฟริเซล (Bill Frisell) โตชิโกะ อะกิโยชิ (Toshiko Akiyoshi) ซาดาโอะ วาตานะเบ (Sadao Watanabe) เป็นต้น มีความพยายามหาสุ้มเสียงใหม่ๆ จากฟิวชันเหมือนกัน เช่น แอซิดแจ๊ส (Acid Jazz) หรือกรูฟแจ๊ส (Groove Jazz)ซึ่งเป็นผลการผสมระหว่างแจ๊ส โซล ฟังกี้ และฮิปฮอป เช่น จามิโรไคว์ (Jamiroquai) อีกแนวที่ใกล้กับแอซิดแจ๊สคือ นูแจ๊ส (Nu Jazz) หรือ อิเล็กโทรแจ๊ส (Electro-Jazz) ซึ่งเกิดในปลายทศวรรษ 1990 โดยนำเนื้อหนังของแจ๊สมาผสมผสานด้วยดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสังเคราะห์เสียง เช่น วงอิเล็กโทรนิกา (Electronica)
**หมายเหตุ หลายวงดนตรีที่มีชื่อเสียง ก็มักจะนำดนตรี Jazz เข้าไปประยุกต์ใช้ เช่น Red Hot ก็นำฟั้งก์ เข้าไปผสมกับร็อค วงไทยก็มี Pause แต่ Pause จะมีบางเพลง Cressendo จะเป็น โซลฟั้งก์
ข้อมูลดีๆมีสาระจาก http://pramool.com:443/webboard
Tags:
0 comments

ดนตรีพังค์ร็อก

ากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พังค์ร็อก (Punk rock) เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่ง (โดยมากมักเรียกสั้นๆว่า พังค์) มีการเคลื่อนไหวและเป็นที่รู้จักในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 พังค์ร็อกได้พัฒนาระหว่างปี 1974 และ 1977 ในสหรัฐอเมริกา,สหราชอาณาจักร และ ออสเตรเลีย โดยมีวงอย่าง เดอะ ราโมนส์, เซ็กซ์ พิสทอลส์ และ เดอะ แคลช ที่เป็นที่รู้จักในฐานะแนวหน้าของดนตรีประเภทนี้
ลักษณะดนตรีแบบ พังค์ร็อกมีลักษณะท่วงทำนองที่รุนแรง หยาบกระด้าง ด้วยการขาดทักษะการของการเล่นดนตรี ส่วนการร้องก็จะเป็น "ตะโกน"หรือ "บ่น" และแฝงนัยยะของ "การต่อต้าน " และการยกย่อง "ความเป็นเลิศ" เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย กีตาร์ไฟฟ้า 1 หรือ 2 ตัว ,เบสไฟฟ้าและชุดกลอง มักมีการเล่นแบบ 2 คอร์ด เพลงพังค์มักมีความยาวระหว่าง 2 ถึง 2 นาทีครึ่ง มีบางเพลงมีความยาวน้อยกว่า 1 นาทีก็มี เพลงพังค์ในช่วงแรกรับอิทธิพลจากร็อกแอนด์โรลคือมีท่อนประสานเสียง
พังค์ร็อกกลายเป็นกระแสนิยมหลักในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 70 แต่ความโด่งดังในที่อื่นมีในจำกัด จนกระทั่งทศวรรษที่ 80 พังค์ร็อกได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเล็กๆ ทั่วทุกมุมโลก ส่วนมากจะถูกปฏิเสธจากดนตรีกระแสหลัก ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 70 ดนตรีพังค์ร็อกได้แตกแยกแขนง ไปหลากหลายทิศทาง เช่นเพลงแนว นิวเวฟ ,โพสต์-พังค์ โดยหลายวงได้ทำการทดลองแนวดนตรีไปในทิศทางอื่น เช่นแนวฮาร์ดคอร์พังค์ และ Oi! และ อะนาร์โค-พังค์ เป็นต้น
และพังค์ร็อกยุคใหม่ได้พัฒนาไปอีกขึ้น โดยเพลงแนวอัลเทอร์เนทีฟได้รับความนิยมเหมือนตอนที่ได้พังค์ร็อกรับความนิยมในช่วงแรก
ลักษณะ
พังค์ยุคแรกมีจุดความก้าวร้าว ซึ่งดูไกลจากร็อกในต้นยุคทศวรรษที่ 70 ที่อ่อนไหวและฟังดูรื่นหูทอมมี ราโมน มือกลองวงเดอะ ราโมนส์ เคยกล่าวไว้ว่า "ในช่วงแรกของการเริ่มต้น วงยุค 60 หลายวง ได้ปฏิรูปและมีความน่าตื่นเต้น แต่โชคไม่ดีที่อยู่ได้ไม่นาน พวกเรารู้ว่าต้องการสิ่งที่ต้องการคือความบริสุทธิ์ และไม่ต้องการ ร็อกแอนด์โรล"
จอห์น โฮล์มสตรอม บรรณาธิการนิตยสาร พังค์ แฟนไซน์ให้ความเห็นกับการเกิดของพังค์ร็อกว่า "พังค์ร็อกเกิดขึ้นเพราะดนตรีร็อกในช่วงนั้นดูน่าเบื่อ อย่าง บิลลี โจเอล ,ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล ที่ถูกเรียกว่าร็อกแอนด์โรล โดยร็อกแอนด์โรลมีความหมายกับหลายๆคนว่า ดนตรีขบถและป่าเถื่อน" ดนตรีพังค์นั้นถือกำเนิดมาจากความคิดของคนหนุ่มชนชั้นกลางจนถึงชนชั้นกรรมาชีพโดยมีความปรารถนาที่จะหลีกหนีสังคมที่ไม่เคยเห็นอกเห็นใจหรือช่วยเหลือเกื้อหนุนต่อพวกเขาเลยและคิดว่าสิ่งที่พวกเขาคิดพูดและแสดงออกนั้น ไร้สาระโดยสิ้นเชิง
ในคำวิจารณ์ของโรเบิร์ต คริสต์เกาอธิบายไว้ว่า "มันก็คือวัฒนธรรมย่อยอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธการเมือง ความสมบูรณ์แบบ และ นิทานปรัมปรางี่เง่าของพวกฮิปปี้"ในทางตรงกันข้ามแพตติ สมิธเอ่ยในรายการสารคดี 25 ปีของพังค์ว่า "พังค์และฮิปปี้มีจุดร่วมเหมือนกันคือ ต่อต้านร็อกแอนด์โรล ในบางครั้งก็ปฏิเสธไม่เฉพาะร็อกกระแสหลักและวัฒนธรรม" ในปี 1977 เมื่อพังค์ในก้าวสู่กระแสหลักในสหราชอาณาจักร ถูกเรียกว่า "ปีศูนย์" (Year Zero) การหวนสู่ความหลังถูกทิ้งไป แต่ได้รับแนวความคิดแบบไร้จริยธรรมเข้าไป โดยวงเซ็กซ์ พิสทอลส์มีคำขวัญว่า "ไร้อนาคต" (No Future)
วงพังค์มักเลียนแบบโครงสร้างดนตรีที่เปลือยเปล่าและการเรียบเรียงดนตรีของดนตรีแนวการาจร็อก ในช่วงทศวรรรษที่ 60นิตยสารพังค์ ไซด์เบิร์นส ในปี 1976 ได้ล้อเลียนโดยภาพวาด 3 คอร์ด มีคำอธิบายว่า "นี่คือคอร์ด นี่อีกคอร์ด และนี่คอร์ดที่สาม ตอนนี้ฟอร์มวงได้แล้ว"
เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย กีตาร์ไฟฟ้า 1 หรือ 2 ตัว ,เบสไฟฟ้า,ชุดกลอง ในช่วงแรกพังค์ร็อกดูสับสน จอห์น โฮล์มสตรอม กล่าวว่า "พังค์คือร็อกแอนด์โรลในสายตาคนที่ไม่รู้เรื่องดนตรีมากนัก แต่รู้สึกได้ถึงความต้องการที่จะปลดปล่อยตัวเองในดนตรี" การร้องของพังค์บางครั้งฟังเหมือนเสียงขึ้นจมูก และบ่อยครั้งที่จะตะโกนแทนที่จะร้อง ความซับซ้อนของกีตาร์บ่งบอกถึงความหลงผิดในตัวเอง
เบสกีตาร์มักจะเป็นพื้นฐานทั่วไปโดยมีส่วนช่วยพยุงเมโลดี้ของเพลง มีมือเบสวงพังค์บางวงอย่าง ไมค์ วัตต์ และ ฌอง-แจ็คส์ เบอร์เนล แห่งวงเดอะ สเตรนเจอร์ส จะเน้นเบสขึ้นมา มือเบสหลายๆวงมักใช้ปิ๊กมากกว่าการใช้นิ้วเนื่องจากความรวดเร็วต่อเนื่องของโน้ต กลองโดยทั่วไปจะหนักและดูแห้ง จะมีการปรับแต่งเพียงเล็กน้อย เพลงพังค์มักมีความยาวระหว่าง 2 ถึง 2 นาทีครึ่ง มีบางเพลงมีความยาวน้อยกว่า 1 นาทีก็มี เพลงพังค์ในช่วงแรกรับอิทธิพลจากร็อกแอนด์โรลคือมีท่อนประสานเสียง อย่างไรก็ตามวงพังค์รุ่นใหม่อาจรวมแนวเพลง โพสต์-พังค์ และ ฮาร์ดคอร์พังค์ จะไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าว ฮาร์ดคอร์พังค์ กลองจะเร็วขึ้น เนื้อเพลงจะกึ่งตะโกน เสียงกีตาร์ฟังดูก้าวร้าว
ภาคเนื้อร้องโดยทั่วไปจะเป็นการพูดกันตรงๆ โดยจะวิจารณ์สังคมการเมืองเช่นเพลง "Career Opportunities" ของวงเดอะ แคลช,"Right to Work" ของวงเชลซี เป็นต้น ยังมีเพลงที่มีเนื้อหาตึงเครียดในลักษณะต่อต้านความรัก พรรณาถึงความสัมพันธ์ของชายหญิงและเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างเพลง "Love Comes in Spurts" ของวง เดอะวอยดอยด์ส
วี. เวลกล่าวว่า "พังค์เป็นนักปฏิวัติวัฒนธรรม เผชิญหน้ากับความมืดของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม พวกอนุรักษ์นิยม ข้อห้ามทางเพศ ได้ขุดในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนออกมาโดยคนรุ่นใหม่อย่างสมบูรณ์"
รูปแบบการแต่งกายของชาวพังค์ พวกเขาใส่ที-เชิร์ต สวมแจ็คเก็ตมอเตอร์ไซค์ กางเกงยีนส์ เป็นการยกย่องอเมริกันกรีซเซอร์ในยุคทศวรรษที่ 50 ในยุคทศวรรษที่ 80 การสักและการเจาะได้รับความนิยมในหมู่นักดนตรีพังค์และแฟนเพลง
ยุคก่อนพังค์ร็อกการาจร็อกและม็อด
ในช่วงต้นและกลางยุคทศวรรษที่ 60 วงดนตรีการาจร็อก ได้ยอมรับว่าเป็นต้นกำเนิดของดนตรีพังค์ เริ่มต้นในหลายๆที่ทางอเมริกาเหนือ วงเดอะ คิงส์เม็น การาจร็อกจากพอร์ทแลนด์ โอรีกอน ได้เปิดตัวด้วยเพลงดัง "Louie, Louie" เพลงเก่าที่นำมาทำใหม่ในรูปแบบพังค์ร็อก
รูปแบบซาวนด์ที่น้อยของวงการาจร็อกหลายๆวงได้รับอิทธิพลมาจาก วงเดอะ คิงค์ส กับเพลงดัง "You Really Got Me" และ "All Day and All of the Night" ในปี 1964 ได้ถูกบรรยายว่าเป็นต้นแบบของเพลง 3 คอร์ด ของวงเดอะ ราโมนส์ในปี 1978 กับเพลง 'I Don't Want You'
วงเดอะ ฮูกับเพลง "My Generation" ก็ได้อิทธิพลมาจากวง เดอะ คิงค์สซึ่งวงเดอะ ฮูและ เดอะ สมอลล์ เฟสเซส เป็นวงร็อกยุคก่อนหน้าที่เป็นที่รู้ดีกันว่ามีอิทธิพลให้กับวง เซ็กซ์ พิสทอลส์ในปี 1966 ม็อดได้ลดความนิยมในสหรัฐอเมริกาไป การาจร็อกในอเมริกาเสื่อมความนิยมไปในไม่กี่ปี แต่แนวดนตรีใหม่ที่มาแทนคือ การาจ ซิช (garage psych) เช่นวง เดอะ ซีด ที่ต่อมาเป็นที่รู้จักในแนว โปรโตพังค์
โปรโตพังค์
ในปี ค.ศ. 1969 มีวงจากมิชิแกน 2 วงได้ออกอัลบั้มแนวโปรโตพังค์ ถือได้ว่ามิชิแกนมีความเกี่ยวข้องกับศูนย์กลางของโปรโตพังค์ ต่อมาวง MC5 จากดีทรอยต์ ออกอัลบั้ม Kick Out the Jams "ทางวงได้ตั้งใจให้ออกมาหยาบและดิบ" เขียนโดยนิตยสารโรลลิ่ง สโตนโดย เลสเตอร์ แบงส์ "เพลงส่วนใหญ่จะค่อนข้างไม่แตกต่างกันเลย เพลงมีโครงสร้าง 2 คอร์ดแบบดิบๆ คุณจะเคยได้ยินมาก่อนกับวงอย่าง ซีดส์ ,บลู เชียร์,เควสชัน มาร์ค แอนด์ เดอะ มิสทีเรียนส์ และ เดอะ คิงส์เม็น ความแตกต่างคือ การหลอกลวง โดยปกปิดบางส่วนของความซ้ำซากด้วยเสียงที่น่าเกลียด ในท่อน "I Want You Right Now" ฟังดูเหมือนเพลง "I Want You" ของวงเดอะ ทร็อกส์"
ฤดูร้อนในปีนั้น วงเดอะ สตูกส์ ได้ออกอัลบั้มแรกโดยมีอิกกี้ ป็อป เป็นนักร้องนำ อัลบั้มนี้โปรดิวซ์โดย จอห์น เคล อดีตสมาชิกวงร็อก เดอะ เวลเว็ต อันเดอร์กราวนด์ อัลบั้มนี้เป็นแรงบันดาลใจไม่ทางตรงก็ทางอ้อมให้กับการเกิดของดนตรีพังค์
ทางฝั่งตะวันออก วงนิวยอร์กดอลส์ ได้ถือกำเนิดแฟชั่นร็อกแอนด์โรลแบบดุร้าย ที่ต่อมารู้จักกันในนามของ แกลมพังค์ (glam punk) ในโอไฮโอ วงร็อกอันเดอร์กราวนด์ได้ปรากฏออกมา นำโดย เดโว, เดอะ อีเลทริค อีลส์ และ ร็อกเก็ต ฟอร์ม เดอะ ทูมบส์ ในลอนดอน ดนตรีร็อกได้กลับคืนสู่สามัญ และได้ปูพื้นให้นักดนตรีหลายคนสู่วงการเพลงพังค์เช่นวงเดอะ สเตรนเจอร์ส,ค็อค สปาร์เรอร์ และ โจ สตรัมเมอร์ ซึ่งต่อมาคือสมาชิกวงเดอะ แคลช
ในออสเตรเลีย วงการาจร็อกรุ่นใหม่หลายวงได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับ เดอะ สตูกส์ และ MC5 ที่มีซาวน์ดนตรีที่ใกล้เคียงกับความเป็นพังค์ที่สุด ในบริสเบน วงเดอะ เซนตส์ ได้เล่นเพลงดิบๆแบบอังกฤษ และได้ทัวร์ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปี 1965สถานีวิทยุเบิร์ดแมนได้เล่นเพลงการแสดงสดเล็กๆนี้ด้วย แต่ความคลั่งไคล้ได้ตามมาถึงซิดนีย์
ที่มาของคำว่าพังค์
ก่อนกลางทศวรรษที่ 70 คำว่าพังค์ เป็นคำเก่าแก่ที่มีความหมายคลุมเครือ มักใช้อธิบายถึงผู้ชายหากิน พวกนักเลงอันธพาล นักเลงหัวไม้เลคส์ แม็คนีลอธิบายว่า "เมื่อคุณดูรายการโทรทัศน์เกี่ยวการตามล่าคนร้ายของตำรวจ เวลาตำรวจจับผู้ร้าย พวกเค้ามักจะพูดว่า 'you dirty Punk' ถ้าครูเรียกคุณอย่างนั้นก็หมายความว่า คุณต่ำที่สุด"ความหมายของคำว่าพังค์ชัดเจนขึ้นโดย นักวิจารณ์เพลงร็อก เดฟ มาร์ชในปี 1970 เมื่อเขาได้อธิบายลักษณะดนตรีและทัศนคติของวงเควสชัน มาร์ค แอนด์ เดอะ มิสทีเรียนส์ เดือน มิถุนายน 1972 นิตยสารแฟลชได้จัดอันดับ "เพลงพังค์สิบอันดับ" แห่งทศวรรษที่ 60
ในปี 1975 พังค์ได้ใช้อธิบายถึงการกระทำหลายๆอย่างของวง แพตติ สมิธ กรุ๊ป ,เดอะ เบย์ ซิตี้ โรลเลอร์ส และ บรู๊ซ สปริงสทีน ที่นิวยอร์ก คลับ CBGB คลับที่หาแนวเพลงใหม่ๆ เจ้าของคลับคือ ฮิลลี คริสตัล ส่วนจอห์น โฮล์มสตรอมได้ให้เครดิต นิตยสารอควาเรียนเกี่ยวกับพังค์ว่า "เป็นการอธิบายว่าอะไรเกิดขึ้นใน CBGB บ้าง" ซึ่งต่อมา โฮล์มสตรอมร่วมกับ แม็คนีล และ เก็ด ดันน์ ทำนิตยสารที่ชื่อว่า "พังค์" เปิดตัวปลายปี 1975 ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญของคำว่าพังค์โฮล์มสตรอมกล่าวว่า "มันเป็นอะไรที่ดีที่คำนี้มันดังขึ้นมา เราคิดคำนี้ได้ก่อนที่ใครจะคิดได้ เราต้องการขจัดร็อกแอนด์โรลงี่เง่าออกไป สิ่งที่เราต้องการคือความสนุกและน่าตื่นเต้น"
พังค์ยุคใหม่
อัลเทอร์เนทีฟร็อก
วงพังค์ร็อกใต้ดินเกิดขึ้นมาด้วยนับไม่ถ้วน ทั้งเกิดขึ้นมาโดยซาวด์ดนตรีแบบพังค์และได้ประยุกต์ในเจตนารมณ์ของ DIY สู่ความแตกต่างหลากหลายของดนตรี จนกระทั่งต้นยุคทศวรรษที่ 80 วงในสหราชอาณาจักรอย่างนิว ออร์เดอร์ และ เดอะ เคียวร์ (The Cure) ได้พัฒนาดนตรีรูปแบบใหม่โดยยึดหลักจากแนวโพสต์พังค์และนิวเวฟ ส่วนในอเมริกาวงอย่าง Hüsker Dü และวงที่ตามมาอย่าง เดอะ รีเพลซเม็นต์ส ได้เชื่อมช่องว่างระหว่างแนวพังค์อย่างฮาร์ดคอร์และดนตรีที่ตอนนั้นเรียกว่า คอลเลจร็อก
ในปี 1985 นิตยสารโรลลิ่งสโตนได้เขียนเกี่ยวกับวงอย่าง แบล็ค แฟล็ก,Hüsker Dü,มินิทเม็น และเดอะ รีเพลซเม็นต์ส ว่า "วงพังค์ดั้งเดิมได้ผ่านไปแล้ว วงพังค์ร็อกอเมริกันที่ดีที่สุดได้เข้ามาแทน พวกเขาได้รู้จักว่าการเล่นดนตรีเป็นอย่างไร และได้ค้นพบเมโลดี้ การโซโล่กีตาร์ และเนื้อเพลงที่มีอะไรมากไปกว่าการตะโกนคำขวัญทางการเมือง"โดยช่วงสิ้นสุดทศวรรษที่ 80 วงเหล่านี้ได้แปลเปลี่ยนมาเป็นอัลเทอร์เนทีฟร็อก โดยอัลเทอร์เนทีฟร็อกได้รวมความหลากหลายของสไตล์ อย่าง อินดี้ร็อก ,กอธิกร็อก,กรันจ์ และอื่นๆ ทำให้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยอยู่ในต้นแบบของพังค์ร็อกสู่กระแสนิยมทางด้านดนตรี
วงอัลเทอร์เนทีฟอย่าง โซนิก ยูธ ที่ได้โตขึ้นจากแนวโนเวฟ และวงจากบอสตันอย่างพิกซี่ ได้เริ่มมีกลุ่มคนฟังที่กว้างขวางขึ้น ในปี 1991 วงเนอร์วาน่าได้เกิดขึ้นในกระแสของเพลงแนวกรันจ์ และได้ประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจกับอัลบั้มที่ 2 ของพวกเขา Nevermind เนอร์วาน่าได้สดุดีว่าพังค์เป็นอิทธิพลสำคัญของดนตรีพวกเขาเคิร์ท โคเบนนักร้องนำวงเนอร์วาน่าได้เขียนไว้ว่า "พังค์คือดนตรีที่อิสระ มันพูด กระทำ และเล่นในสิ่งที่คุณต้องการ"การประสบความสำเร็จขอวงเนอร์วาน่าได้เป็นตัวกระตุ้นให้กระแสอัลเทอร์เนทีฟร็อกดังขึ้นมา และได้เป็นส่วนหนึ่งของแนวดนตรีที่ได้รับความนิยมในทศวรรษที่ 90 ด้วย
เควียร์คอร์และ riot grrrl
ในทศวรรษที่ 90 วงพังค์บางวงมีสมาชิกเป็นเกย์ อย่างเช่น ฟิฟธ์ คอลัมน์,ก็อด อีส มาย โค-ไพล็อต,แพนซี ดิวิชัน,ทีม เดร็ช และ ซิสเตอร์ จอร์จ พวกเขาได้พัฒนาเพลงแนวเควียร์คอร์ ถึงแม้ว่าจะมีต้นกำเนิดมาจากพังค์ แต่ก็แพร่ขยายไปในแนวดนตรีที่หลากหลาย อย่างฮาร์ดคอร์ ,อินดี้ร็อก,พาวเวอร์ป็อป,โนเวฟ,น็อยส์ ,เอ็กซ์เพอริเม็นทอล และ อินดัสเทรียล เนื้อเพลงของเควียร์คอร์ มักจะเกี่ยวกับ ความอคติ,อัตลักษณ์ทางเพศ,สิทธิส่วนบุคคล โดยอาจกล่าวทั้งในทางขบขันหรือกิริยาท่าทางที่จริงจัง
ในปี 1991 คอนเสิร์ต Love Rock Revolution Girl Style Now ที่จัดขึ้นในโอลิมเปีย,วอชิงตัน ได้ประกาศการเกิดขึ้นของเพลงแนว riot grrrl ศิลปินที่มาร่วมงาน รวมถึงวงหลายวงที่มีผู้หญิงเป็นแกนนำอย่าง บิกินิ คิลล์,แบรตโมบายล์ และ เฮฟเวนส์ ทู เบ็ตซี
นักร้องนำวงบิกินิ คิลล์ ชื่อแคธลีน ฮานนา เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเพลงแนว riot grrrl ซึ่งต่อมาได้เข้าทำงานในแนวอีเลคโทรอาร์ตพังค์กับวง เลอ ทิกร์ ส่วนมือกีตาร์วงเฮฟเวนส์ ทู เบ็ตซี ชื่อ โคริน ทักเกอร์ และ แคร์รีย์ บราวสไตน์ จากวง เอ็กซ์คิวส์ 17 ต่อมาทั้งคู่ได้ร่วมกันตั้งวงอินดี้ร็อก/พังค์ ชื่อ สลีทเทอร์-คินนีย์
อีโม
คำว่าอีโมได้เคยถูกอธิบายเป็นหนึ่งในแนวย่อยของฮาร์ดคอร์พังค์ ที่มีต้นกำเนิดในวอชิงตันดีซีในช่วงกลางทศวรรษที่ 80 คำว่าอีโมมีที่มาจากข้อเท็จจริงที่สมาชิกในวง บางครั้งจะใส่อารมณ์ (emotional) ในการแสดง สังเกตได้จากวงอีโมในยุคแรกๆอย่าง ไรตส์ ออฟ สปริง,เอ็มเบลซ และ วัน ลาสต์ วิช คำว่า อีโม ย่อมาจาก Emotional Hardcore เน้นการแสดงสดที่เน้นถึงอารมณ์และความรู้สึก แต่แตกต่างจากฮาร์ดคอร์ เนื่องจาก เนื้อหาในสัดส่วนของอีโมร็อกนั้น เน้นสำรวจความรู้สึกภายในจิตใจของตัวเอง มากกว่าวนเวียนก่นด่าถึงสิ่งที่อยู่รอบข้างตัวเอง โดยในช่วงทศวรรษที่ 90 มีวงอีโมเกิดขึ้นมาโดยเฉพาะจากย่านมิดเวสต์หลายวง ไม่ว่าจะเป็น เดอะ เก็ต อัพ และ จิมมี อีท เวิลด์ ที่ได้รับอิทธิพลมาแบบเต็มๆ จากวงรุ่นพี่อย่าง ฟูกาซิ
วงอย่าง ซันนี่ เดย์ เรียล เอ็สเตต และ เท็กซัส อีส เดอะ รีซัน ได้แสดงเพลงอินดี้ร็อกในรูปแบบของอีโม ที่มีรูปแบบเพลงที่เป็นเมโลดี้มากขึ้น และลดความยุ่งเหยิงลงกว่าอีโมก่อนหน้านี้ วงแอนทอยช์ แอรโรว์ เล่นเพลงอีโมที่รุนแรงขึ้น ที่ต่อมารู้จักกันในชื่อ "สครีโม่" แฟนเพลงอันเดอร์กราวด์หลายคนอ้างว่าวงอีโมในปัจจุบันแทบไม่มีคุณสมบัติของพังค์เลย
พังค์รีไววัล
ในยุคเดียวกับเนอร์วาน่า วงอัลเทอร์เนทีฟร็อกหลายวงในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ได้ตอบรับกระแสพังค์ ได้ช่วยให้พังค์ร็อกได้ฟื้นคืนชีพ ในปี 1994 วงพังค์ร็อกจากแคลิฟอร์เนียอย่าง กรีน เดย์ ,ดิ ออฟสปริง,แรนซิด และ แบด รีลิเจียน เป็นตัวสำคัญของความสำเร็จด้วยการช่วยเหลือจากเอ็มทีวีและสถานีวิทยุที่โด่งดังอย่าง KROQ-FM ถึงแม้ว่ากรีน เดย์และแบด รีลิเจียนจะอยู่ในสังกัดค่ายเพลงใหญ่ก็ตาม การประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างมากของกรีน เดย์และดิ ออฟสปริง ได้ปูทางให้ศิลปินแนวป็อปพังค์อย่างวง บลิงก์-182,ซิมเปิล แพลน,กู้ด ชาร์ล็อตต์ และ ซัม 41
วงจากบอสตัน ไมตี้ ไมตี้ บอสสโตนส์ และวงแนวสกาพังค์จากแคลิฟอร์เนีย วงซับไลม์ ได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 ซึ่งต่อมาวงสกาพังค์อย่าง รีล บิ๊ก ฟิช และ เลส เดน เจค ก็ได้ได้การตอบรับที่ดีจากแฟนเพลงในยุค 2000 วงอื่นที่มีรากมาจากฮาร์คอร์พังค์ อย่าง เอเอฟไอ มีเพลงขึ้นชาร์ทในยุค 2000 วงเซลติกพังค์ อย่างวง ฟล็อกกิง มอลลี และ ดร็อปคิก เมอร์ฟีส์ ได้รวมแนวเพลง Oi! เข้าไปด้วย
การเกิดใหม่ของพังค์เห็นได้ชัดว่า ว่ากลุ่มคนที่ฟังพังค์ได้เข้าสู่กระแสหลักซึ่งก็มีแฟนเพลงพังค์หลายคนได้ต่อต้านการเกิดเช่นนี้ อย่างความโด่งดังของวง ซัม 41 และ บลิงก์-182
พังค์ในประเทศไทย
ในช่วงที่วงเซ็กซ์ พิสทอลส์ได้เข้าสู่กระแสนิยมหลักทั่วโลก เพลงร็อกในประเทศไทยนิยมเพลงแนวโปรเกรสซีฟ เพลงแบบบุปผาชน หรือเพลงฮาร์ดร็อกอย่าง แบล็ค แซบบาธ, เล็ด แซพพลิน
ต่อมากระแสพังค์ในประเทศไทยเกิดตอนปลายยุคทศวรรษที่ 80 มีการเกิดของรายการเพลง เรดิโอ แอคทีฟ โดยไนต์สปอต เข้ามาปฏิวัติด้วยที่ไม่เปิดเพลงร็อกเก่าๆ และเพลงป็อปตลาด โดยการนำของวาสนา วีระชาติพลี ดีเจชื่อดัง ดนตรีแนวพังค์เริ่มเป็นที่รู้จักในเมืองไทยจริงๆเมื่อกลางยุคทศวรรษที่ 90 หรือช่วงที่ดนตรีแนวช่วงอัลเทอร์เนทีฟดังมากในประเทศไทย อย่างวง แมนิค สตรีท พรีชเชอร์ส ที่เคยมาแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทยแล้ว เป็นต้น
ส่วนวงดนตรีพังค์ร็อกในประเทศไทย เช่นวงเอบี นอร์มอลมังกี้ แพ้นส์,หมีน้อยซิก ไชด์และ สติวเด้นต์ อักลีนอกจากนั้นยังมีวงอีโมพังค์อย่างวงไรทาลิน ของค่ายมิวสิกบั๊กส์และวงเรทโทรสเปควงอีโมที่ได้รับความนิยมในหมู่เด็กวัยรุ่นชายในปัจจุบันเป็นต้น